วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เรื่องของ Governer

เรื่องของ Governer จำเป็น หรือไม่จำเป็น ลองพิจารณาดูกันเอาเองนะครับ

ใครว่ามือใหม่ ไม่จำเป็นต้องใช้ ผมกลับมองว่ามันเหมาะกับมือใหม่ ๆ ที่ยังเซตเครื่องยนต์กับพิทให้สัมพันธ์ ไม่เป็นอย่างมากเลยอ่ะนะ

สำหรับมือใหม่ที่ต้องการที่จะควบคุมการบินให้มีเสถีย รภาพล่ะก้อ ไม่ควรใช้รอบใบพัดสูงมากนัก ปกติเค้าจะแนะนำให้ใช้รอบแค่ประมาณ 1500-1600 รอบต่อนาทีเท่านั้นเอง เพราะจะมีผลโดยตรงกับระบบการควบคุมของ ฮ. (Cyclic Control)

  • แต่ว่าจะทำไง จะทำให้มีรอบใบพัดต่ำๆล่ะ ทำได้โดย ปรับพิทให้มากขึ้นหน่อย จาได้โหลดเครื่องยนต์ไปในตัว รอบใบพัดก็จะไม่สูงเอง แต่เครื่องก็จะอ้อแอ้ เหมือนคนเมาเหล้าหน่อย ตอบสนองได้ไม่ขาดก็เกิน ยิ่งทำการบินในสถาวะที่มีลม ด้วยละก้อ ฮ. มันก็โดนลบหอบ ได้ง่ายซักหน่อย แทนที่จะได้ฝึกฮอปก็ต้องหัดเลี้ยงระดับ ฮ. และก้อเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ไปด้วย รับรองว่าลุ้นกันเหงื่อซึมเลยล่ะนะ ทั้งนักบิน และผู้ชม
  • ใช้น้ำมันที่มีปริมาณเปอร์เซ็นของไนโตรสูงขึ้น เพื่อให้เครื่องยนต์ตอบสนองได้ดี และทำงานได้ดีในรอบต่ำๆ อันนี้เหตุผลสืบเนื่องจากข้างบน อันนี้ไม่ต้องใช้เทคนิคอ่ะไร ใช้ตังอย่างเดียว รอบเครื่องยนต์ก็ดีเอง
  • เพิ่มน้ำหนักของ ใบเล็ก (Paddle) ให้่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพื่อหวังว่า ฮ.จะตอบสนองได้ช้าลง ไม่ใช่แนวความคิดที่ถูกต้องซะทีเดียว และเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ เพราะหากว่ารอบใบพัดสูงขึ้น จะมีแรงเหวี่ยง(โมเมนตัมเชิงมุม)ที่มากขึ้นตามไปด้วย เด๋วจามีอาการแถมจากแรงเหวี่ยงนั้นตามมา อันนี้เหมาะกับพวกนักบินพลิกแพลงมากกว่า ที่ต้องการ Cyclic ที่เร็ว นิ่งและแน่น เพราะยังงัยก็ใช้รอบใบพัดสูงอยู่แล้ว
  • ปรับค่าในวิทยุ ปรับค่าการตอบสนองของเซอร์โว (Expo) เพื่อให้การสั่งงานไปยังเซอร์โวเร็ว/ช้าหรืออาจจะใช้การปรับระยะทำงานของเซอร์โว (End point) หรือใช้ Dual Rate ซึ่งปกติเรามักใช้ Dual rate ซึ่งค่าเหล่านี้ เรามักจะปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบของการบินมา กกว่าจะใช้เพื่อลดระยะการทำงานของเซอร์โวแต่ก็ใช้ได้ เพราะวิทยุส่วนใหญ่ก็ปรับได้ แต่อย่าลืมว่า ช้าไปก็อาจจะไม่ทัน เร็วเกินไปก็อาจจะเกินได้ ที่สำคัญก็คือคุณก็จะขาดความรู้สึกสัมพัทกับ ฮ. ถ้าคุณไม่ได้ฝึกนิ้วให้สัมพันธ์กับ ฮ.ของคุณ ลองชั่งใจดูนะว่าจะฝึกแบบไหน เพราะ ฮ.ที่เซตไว้ดีแล้วน่ะ มันก็ลอยได้นิ่งๆ ทุกลำล่ะครับ พี่น้อง

ทั้งปวงนี้ ผมไม่ได้บอกว่าใส่ Governer แล้วจะบิน ฮ. ได้แบบเทวดานะ แต่มันจะช่วยให้คุณโฟกัสกับการควบคุม ฮ. ได้มากขึ้นตะหาก เด๋วไว้มีโอกาศจะหาเรื่องการติดตั้งมาเล่าสู่กันฟัง เพราะจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่สำคัญๆ หลายประการที่ต้องเอาใจใส่เหมือนกัน

จาซื้อ ฮ. แบบไหนดี

จาซื้อ ฮ.ไหนดี ไฟฟ้า น้ำมัน น้ำมัน ไฟฟ้า ไฟฟ้า น้ำมัน

โอ๊ยยยย....ฉับฉนไปหมดแว้วววมีใครเป็นแบบนี้หรือป่าวครับ

การเลือกซื้อ ฮ. ต้องดูตามวัตถุประสงค์อ่ะครับ ซื้อมาเพื่ออะไร จะได้ไม่หลงทาง เพราะ ฮ.แต่ละแบบ เค้าก็จะมีข้อดีของเค้าที่แตกต่างกันไป

สำหรับมือใหม่ ๆ สด ๆ ซิง ๆ ทั่นต้องการนาทีบินที่ต่อเนื่องที่มากพอ เพื่อที่จะได้เรียนรู้การควบคุม ฮ. ในแต่ละมุมมอง ทั่นจะต้องการ ฮ. ที่มีความเสถียร และีมีกำลังต่อเนื่อง ฮ.เครื่องยนต์ จะมีความเหมาะสมมาก ฮ.ขนาดเครื่องยนต์ .30 เนี่ยเหมาะเลย บินได้นานมากๆ และประหยัดน้ำมัน และยังประหยัดเงินอีกด้วย ราคาอุปกรณ์ไฟฟ้า และอะไหล่สิ้นเปลืองราคาก็ไม่สูงมาก ใกล้เคียงกับ ฮ.ไฟฟ้า แต่คุณจะได้การควบคุมที่ดีกว่าการเลือก

  • ฮ.ที่เหมาะสมกับการฝึกซ้อม ควรเลือก ฮ.ที่มีกลไกไม่ยุ่งยาก ซึ่งควรจะเป็นแบบ mCCPM ซึ่ง servo แต่ละตัวจะควบคุมในแต่ละทิศทาง ทำให้มีเสถียรภาพมาก ทั้งนี้ก็เพื่อให้ตัวนักบินเองสามารถตรวจสอบ ดูแลได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสามารถปรับแต่ง และทำความเข้าใจกับระบบการทำงานของ ฮ. ได้ง่าย
  • แล้วทำไมถึงแนะนำให้บิน ฮ.เครื่องยนต์ ฮ.เครื่องยนต์ มีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อบินในระยะห่างที่ปลอดภัย ทั้งนี้ก็เพราะว่า ฮ.ไม่ใช่ของเล่น ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย จะซื้อ ฮ.ไฟฟ้ามาซ้อมบินในบ้าน ก็ไม่เหมาะสมอยู่ดี
  • ฮ.เครื่องยนต์ มีน้ำหนักเยอะ สามารถลอยตัวได้นิ่มนวล ในสภาวะที่มีลมพัด
  • ฮ.เครื่องยนต์ บินด้วยรอบใบพัดที่ต่ำกว่า ฮ.ไฟฟ้ามาก จึงมีความเสถียรในการควบคุมมากกว่า ไม่วอกแวกง่ายๆ
  • นาทีบินที่ต่อเนื่อง อุปกรณ์ไฟฟ้าเสริมที่ควรลงทุน ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณจะได้จดจ่ออยู่กับการฝึกซ้อมมาก ที่สุด

Gyro และเซอร์โว รัดเดอร์
ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมหางให้ตรงทิศทางตลอดเวลา ส่วนใหญ่นักบินใหม่ จะไม่สามารถแก้ไขได้ดี เมื่อหางปัดขณะเร่งเครื่องรับ หรือส่ง Gyro 240 อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก แม้ว่าจะราคาต่ำกว่า
Engine Governer ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมรอบใบพัดใ้ห้คงที่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่เร่ง-ลดเครื่องยนต์ให้อัตโนมัติ ซึ่งก็จะตัดปัญหาเรื่องของการปรับตั้ง Throttle curve และการปรับแต่งเครื่องยนต์ไปได้เยอะ หลังจากที่ปรับแต่งเครื่องยนต์ครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว *** ไว้ผมจะเล่าเรื่อง Governer แบบละเอียดให้ฟังครับ ***

แต่หากว่ามีข้อจำกัดด้วยเหตุผลร้อยแปด โปรแกรมฝึกบิน คือคำตอบของทั่นมือใหม่ซิงๆ ครับ

ปัญหาโลกแตก ที่มือใหม่ชอบสงสัยกัน

หัวเทียน หมายเลขบอกอะไรได้บ้าง (ไว้หาข้อมูลเกี่ยวกะอุณหภูมิมาฝากกัน)
  • หัวเทียนร้อน (ตัวเลขน้อย) เหมาะสมที่จะใช้กับเครื่องยนต์ที่มีอุณหภูมิห้องเผาใ หม้สูง เนื่องจากใส้ความร้อนจะมีขนาดใหญ่ จะทนทาน เช่น พวกเครื่องบินแข่งขันที่ใช้รอบสูงสุดแทบตลอดเวลา
  • หัวเทียนเย็น (ตัวเลขมาก) ก็ตรงกันข้ามกันเลย

เวลาเลือกซื้อ ให้เลือกเบอร์เดียวกะตอนที่ซื้อเครื่องมานั่นแหละครั บ
OS 50 Hyper ใช้เบอร์ 8
Thunder Tiger 50 ส่วนใหญ่ใช้เบอร์ 8 (ผมไม่เคยซื้อ ไม่รู้ให้เบอร์อะไร)
Thunder Tiger 53 ใช้เบอร์ 3

หมายเหตุ
หัวเทียนของเครื่องยนต์เค้าจะใช้ความร้อนแฝงจากฝาเคร ื่องยนต์ เพื่อการจุดระเบิด หากความร้อนยังไม่พอ เครื่องยนต์ก็เดินที่รอบต่ำไม่ค่อยดี ให้วอร์มซะหน่อย หรือปรับทริมขึ้นอีกซักนิดในไฟลท์แรกๆ

เลือกใช้น้ำมันอะไรดี
เครื่องยนต์แบบ Glow plug ใช้เชื้อเพลิงที่เป็น เมทริลอัลกอฮอร์ + สารหล่อลื่น + ไนโตรมีเทน ส่วนใหญ่ด้านข้างกระป๋องจะบอกส่วนผสมของสารหล่อลื่น และไนโตรมีเทน แยกกัน แต่ส่วนใหญ่เราพูดถึงกันแต่ %ไนโตรมีเทน

เด๋วนี้น้ำมันสำเร็จรูปราคาไม่สูงมากนัก ซื้อไปเหอะครับ ขอให้มีสารหล่อลื่นซัก 18-20% มีไนโตรมีเทน 15% ก็พอแล้วกำลังดีไม่มาก ไม่น้อย

แล้วประสมเองได้ป่าวอ่ะ
ถึงแม้ว่าจะหาน้ำมันละหุ่งเกรดดีๆ ราคาสูงมาใช้ได้ แต่ราคาก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ปัญหาเครื่องยนต์สำหรับมือใหม่จะน้อยหน่อย เนื่องจากละหุ่งมีความหนืดค่อนข้างสูง และเผาไหมได้ยากกว่า หากปรับตั้งเครื่องยนต์ไม่ดีพอ เด๋วเครื่องจะฮีทเอา ไว้ปรับเครื่องยนต์เก่งๆ แล้วค่อยลองเองก็ได้

เครื่องฮีท เครื่องเหี่ยว
ส่วนใหญ่เวลาถามมักได้คำตอบว่า ผมไม่เคยยุ่ง กะเครื่องยนต์เลย ไม่รุ้เป็นไร เอาเป็นว่าถ้าไม่เคยยุ่ง ไม่เคยปรับ ไม่เคยเปลี่ยนน้ำมัน ในแต่วันอากาศอากาศเมืองไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก ก็ลองปรับเข็มน้ำมันใหญ่ดูครับ บวกลบซักกิ๊กสองกิ๊ก แค่นั้นเอง ถ้าผสมได้อร่อยกำลังดี เครื่องยนต์มันก็จะคึกคักขึ้นมาเองแหละครับ (Rich คือ การเพิ่มอัตราส่วนของน้ำมัน หมุนทวนเข็มนาฬิกา, Lean คือ การลดอัตราส่วนของน้ำมัน หมุนตามเข็มนาฬิกา)

ซึ่งควรสังเกตุดูอาการของเครื่องยนต์หลังจากที่ปรับไปแล้วด้วย ยังคงมีควันดีอยู่ไหม แสดงว่าเผาไหม้ไม่หมด เหลือหล่อลื่นเครื่องบ้างก็ยังดี แต่การปรับตั้งเครื่องยนต์ที่ดี จะต้องสัมพันธ์กับโหลด คือ Pitch ของใบพัดด้วย ซึ่งจะต้องปรับตั้ง Throttle curve ควบคู่กันไป จึงจะได้ผลดี แนะนำให้มือใหม่ใช้ Governer มาทำหน้าที่นี้แทนจะดีกว่า ใช้ได้จนเป็นโปรเลยแหละ อย่าไปมัวแต่ Lean จนเครื่องพังล่ะครับ

แบบว่าเซตตามคู่มือทุกอย่างแล้ว ทำไม ฮ. ไม่นิ่งเลย
ลองไปตรวจสอบกลไกดูครับ กลไกของ ฮ. เนี่ย จะต้องแน่นหนา แต่ก็ต้องคล่องตัวครับ
วันแรกที่แกะกล่อง กะวันหลังที่คลุกฝุ่น มันก็ต้องมีฝืดกันมั่ง เวลาเช็ดทำความสะอาดก็อย่าลืมหล่อลื่นกลไกไว้ด้วยล่ะ เด๋วสนิมขึ้น อิ อิ

เริ่มจะเทิร์นโปร อ่ะ เริ่มอยากจะซ่า แระ
อยากจาตีลังกา ต้องเป็นอะไรได้มั่ง
คุณว่ามันตลกไหมที่มีคนถามคุณแบบนี้ ถ้าคุณตอบแบบห้วนก็ได้ว่าเตรียมตังไว้เยอะก็ดี เพราะจริงๆ แล้วคำตอบมันไม่ได้อยู่ที่คนตอบเลย มันอยู่ที่คนถามนั่นแหละว่า พร้อม หรือยัง เมื่อก่อนผมก็งงเหมือนกันว่าทำไม ฮ. มันตีลังกาได้ เพราะไม่เคยเห็น แต่พอได้คุยได้ศึกษาบ้างแล้วก็พอทำความเข้าใจได้ไม่ย าก ก็ฝึกได้จากในโปรแกรมฝึกบินบ่อยๆ จนเราทำได้ง่ายดีแล้ว มายากอีกทีก็ตอนที่จะลองครั้งแรก นั่นแหละ กลัวสารพัดเรื่อง มือสั่นจนวิทยุจะหล่นเอา อย่าว่าแต่มือใหม่เลยคับ มือเก่าที่จะลองท่าใหม่ ก็เป็นเหมือนกัน แต่นาทีบินเค้าเยอะแล้ว ทำใจได้แล้ว (เคยตก) เอาเป็นว่า พร้อมเมื่อไหร่ ก็ค่อยทำละกันครับ ไม่ต้องรีบร้อน ความมันส์ เพิ่งจะเริ่มต้นครับ

เรื่องของหางกะ Gyro

เรื่องของหางกะ Gyro ไปอีกหัวข้อนึง

สองยี่ห้อที่นิยมกันก็คือ 401 กะ 611 ส่วนรุ่นอื่นๆ อ่านแล้วไปคลำๆ กันต่อเอาหน่อยละกัน
มีสามส่วนที่ต้องกล่าวถึง คือ
  1. ตัววิทยุ
  2. ตัว Gyro
  3. กลไกของ ฮ.

เรื่องของวิทยุถ้าเป็นวิทยุรุ่นใหม่ ๆ มักจะมีีฟังชั่นสำหรับ ฮ. เลย ซึ่งจะมีเมนู Gyro sense อยู่แล้ว กำหนดค่าได้จากเมนูนี้ได้เลย ซึ่งสิ่งที่ควรทำก็คือกำหนดให้ค่าของ Gain ปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการบิน (Flight mode) สำหรับทั่นที่บินแบบ 3D ก็ควรกำหนดให้ Gyro ทำงานในโหมด Heading Hold แต่ถ้าบินแบบสวยๆ หางพริ้วๆ ก็เลือกให้ทำงานธรรมดาหรือ HH แต่กำหนด Gain น้อยหน่อยก็ได้

แล้วจะใช้ค่าเท่าไหร่ล่ะถึงจะพอสำหรับพวกบิน ฮ.แบบ 3D น่ะ ผมตอบง่ายๆ อย่างนี้ครับ "มากที่สุด เท่าที่หางของ ฮ.ทั่นไม่สั่นอ่ะครับ หรือจะตั้งให้มากเท่าที่สามารถทำท่าต่างๆ ได้สมบูรณ์แบบ

เนื่องจาก Gyro จะทำงานสัมพันธ์กับรอบใบพัดของหาง" ซึ่งก็จะสัมพันธ์กับรอบใบพัดหลัก ที่ถูกสั่งงานตามค่าของ Throttle curve กับ Pitch curve ของที่ท่านใช้นั่นแหละ ถ้าทั่นสามารถควบคุมให้รอบใบพัดหลักหมุนได้สม่ำเสมอเ ท่าใด หางก็ทำงานได้ดีเท่านั้นการเซตกลไกการควบคุมหางสิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อน มีดังนี้
  • กำหนดค่าในวิทยุ ATV ของ Rudder ให้เป็น 100% ทั้งสองด้าน
  • ล้างค่า Trim, Sub-Trim ของ Rudder ให้เป็น 0 (ถ้ามี)
  • กำหนดค่าของ Gyro ให้ทำงานแบบ Normal ก่อน เพื่อไว้ตั้งค่า Center ของ Rudder Servo
  • ตรวจสอบที่ Gyro ก่อนครับ กำหนด Limit เป็น 100% ก่อน Gyro 401 เค้าจะไม่สามารถกำหนดค่า แยกซ้าย/ขวาได้เหมือนกับ 611 หลังจากนั้น เปิดวิทยุ และภาครับ รอให้ Gyro เค้า Initial เรียบร้อยก่อน
  • เลือกอาร์มเซอร์โวให้มีความยาวพอเหมาะ ส่วนใหญ่จะเป็นตัวหกแฉกหรือสี่แฉก จากนั้นเลือกหาตำแหน่งเพื่อใส่อาร์มเข้ากับตัวเซอร์โ ว ซึ่งโดยทั่วไปเราจะเลือกตำแหน่งที่ อาร์มเซอร์โวทำมุมตั้งฉากกับตัวเซอร์โว ซึ่งปกติก็จะตั้งฉากกับกลไกของหางด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เซอร์ Rudder สามารถทำงานทั้งด้านซ้าย/ขวาได้เท่ากัน

    หมายเหตุ สำหรับ Raptor ที่ใช้แผ่นยึดเซอร์โวที่ท้ายเฟรม จะต้องเลือกตำแหน่งที่ตั้งฉากกับ Tail Boomติดตั้งหัว Ball เข้ากับอาร์มของรัดเดอร์เซอร์โว โดยปกติถ้าเป็นอาร์มหกแฉกจะใช้รูสุดท้าย ถ้าเป็นตัวสี่แฉกก็จะเป็นรูที่สาม/สี่

  • จากนั้นก็นำ Ball link ของ rudder rod มาทาบดู โดยโยก Rudder ที่วิทยุไปด้านซ้ายสุด และขวาสุด เซอร์โวจะต้องสามารถทำงานได้โดยไม่มีการติดขัดทั้งด้ านซ้าย/ขวา หากมีการติดขัดให้ปรับที่ตัว Ball link ของ rudder rod หากไม่สามารถปรับ ball link ได้แล้ว ให้ไปเพิ่ม/ลดค่าของ limit ที่ Gyro แทนเมื่อเซตเสร็จทั้งหมดแล้ว ไปกำหนดค่าของ Gyro sense ที่วิทยุ ให้เป็น Heading Lock คืน

    แค่นั้น ง่ายไหม ^_^

หัดเซตกันหน่อย

ถ้าอยากจะทำเองมั่งก็ไม่ดูวีดีโอกันเอาเองครับ มีทุกอย่างแล้ว เป็นขั้นเป็นตอน ฟังปะสาอังกริดม่ะออก ก็ดูๆ ตามไปก็รู้เรื่องครับ

อ้อ อีกประการนึงคับเพิ่มตังอีกนิดไปซื้อโปรแกรมฝึกบินมาซ้อมด้วย จาเอาให้เก่งเป็นโปรซิมไปเลยก็ด้าย แต่ยังงัยก็ต้องมาบินของจริงๆ มั่ง ขอบอกว่าของจริงอ่ะ ง่ายกว่า ด้วยนะ แถมใจเต้นดีด้วย หุ หุ

ฮ.มือใหม่คร้าบบ เอางัยดี

ผมได้อ่านบทความนี้ในเวปไซต์ของอีตาริค แล้วก็นึกขำๆ คนเรานี่มันเหมือนกันทั่วโลกเลยนะเนี่ย แต่ก็มีที่เหมือนกะมีที่ต่างกันเหมือนกัน ลองมาดูว่าฝรั่งเค้าสอนกันยังงัย (หมดครึ่งเวลาแรกพอดี) http://www.ronlund.com/getting_help.htmเรื่องของมือใหม่เนี่ย ปัญหาร้อยแปดเลย

เด๋วจาปักไว้เลยส่วนที่มือใหม่ต้องทำการบ้านมาก่อนก็คือ เริ่มศึกษาแล้วก็เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองสนใจ ก่อนเลย อ่านหนังสือ ดูข้อมูลจาก Net ดูวีดีโอ ไปสนามบิน ดูเค้าบินกัน แล้วกลับบ้านไปนอนฝันเอาหลังจากที่ดูไปพักนึงแล้ว ก็มองหาใครซักคนมาเป็นที่ปรึกษา ก็สอบถามแล้วเค้าตอบไ้ด้อ่ะนะ กรุณาสุภาพด้วยนะครับ ม่ายงั้นเจอโปรตีน เอ้ย ตีนโปร อิ อิ

ผมเคยเจอพวกที่ชอบถามจัง แต่ก็ไม่ทำอะไรเลย แบบนี้แล้วเิมิงจารู้ไปทำไมฟะ กะพวกที่รู้มากที่ชอบถามเรื่องซ้ำๆ แบบว่าเอาไว้คุยงัยจะได้มีเรื่องคุย พวกนี้น่าเตะโด่งไปเลย

หลังจากที่พบเนื้อคู่แล้ว เวลาให้เค้าทำอะไรให้ สงสัยไม่เข้าใจ หรือว่าข้องใจอ่ะไร ก็สอบถามซะให้เรียบร้อย จาได้เข้าใจเหตุผล ถ้าไม่ถูกใจก็ทำเองไปเลย ดีฟ่า อย่าให้ร้องหาคนอื่นมาทำให้ มันผิดมารยาทอ่ะครับ เด๋วมันจาไปกระตุ้นต่อมหมั่นใส้เอา

ไม่มัวหาคนผิด เพราะว่ามันเป็นเครื่องบินของทั่นเอง ทั่นมีหน้าที่ ที่จะตรวจสอบให้มันพร้อมก่อนบินทุกครั้ง เครื่องบินไม่ใช่ตำหรวด เอ้ย จาหรวดที่หลุดโลกได้ เครื่องบินยังงัยมันก็หนีแรงดึงดูดของโลกไม่พ้นหรอก มันก็คงตกซักวันนึง ยิ่งถ้าไปจูงโปรมาเทสเครื่องให้แล้วเนี่ย ไม่ต้องมาบ่นเลย ไปช่วยกันเก็บซะดีๆ ฮิ ฮิ โปรก็ตกได้ (เร็วๆ นี้ผมยังเปิด idle ผิดด้านเลย แล้วไปเปิดอีกทีใกล้พื้นแระ ผลก็คือกินหญ้ากัน อิ่มเลย ซ่อมกันปาย)

ยังมีต่ออีกคับ.....ดูบอลก่อน

เล่นเครื่องยนต์ ก็ต้องรู้จักการปรับตั้งระยะการเปิดคาร์บูเรเตอร์ด้ว ย ไม่ยากซักนิด แต่ก็มักจาพบบ่อยว่า ว่าไปตั้งกันแถวๆ ร้านก๋วยเตี๋ยวขายดี เลยได้แบบลวกไม่สุก หรือที่เรียกว่า ลวก ลวก น่ะ http://www.ronlund.com/throttle.htm

หลักการก็เหมือนกันทั่วโลกนะครับ กล่าวคือ ระยะเซอร์โว 100% เป็นการเปิดคาร์บู 100% แต่ถ้ามันทำไม่ได้ ก็พยายามทำให้ใกล้เคียง แค่นี้ก็สุดยอดแล้วครับ

ทีนี้ก่อนจะปรับตั้งก็ปรับค่าของ throttle curve ก่อนให้มันเป็น ต่ำสุด 0% กลาง 50% และ สูงสุด 100% พวกค่าของ ATV ก็ควรจะกำหนดให้เป็น 100% ทั้งสองด้านด้วยคราวนี้เวลาจะตั้งให้ตั้งที่ตรงกลางก่อน คือ เราเปิดคันเร่งไว้ 50% คาร์บูเรเตอร์ก้อต้องเปิด 50% เหมือนกัน เลือกหามุมเหมาะแขนอาร์มของเซอร์โวกับอาร์มของคาร์บู เรเตอร์อยู่ในแนวเดียวกัน ถ้ามันไม่ตรงการก้อต้องปรับเอาครับ เอาไขควงขันไปเลย ดูรูปเอาครับ

BEC / Regulator ???

แต่เดิม ฮ.ที่ใช้เครื่องยนต์ก็ใช้ NiCd 4 ก้อน เป็นแหล่งจ่ายไฟหลักมานานนมแล้วนะ แต่ใน ฮ.ไฟฟ้า กลับไม่ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟแยก นั่นคือ ที่มาของคำว่า BEC -> Battery Eliminate Circuit ก็แปลว่าไม่ต้องใช้แบตเตอรีแยกนั่นแหละ เพราะเค้าจะมีวงจรลดแรงดันของแบต (ส่วนใหญ่ LIPO 3S) มาเป็น 5-6V เพื่อใช้ในวงจรของ Speed control และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดได้เพียงพอ

แต่ปัจจุบัน ฮ.ที่ใช้เครื่องยนต์ ก็นิยมนำเจ้า BEC (ติดปาก) และ LIPO 2S มาใช้กัน ก็มีเหตุผลง่ายๆ คือ ความจุของ LIPO มากกว่า ทำให้สามารถบินได้หลายไฟลท์ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง แถมยังมีน้ำหนักเบาอีกต่างหาก NiCd เลยเริ่มถูกลืมกันไปแต่เราก็ยังเรียกกันว่า BEC ทั้งๆ ที่เรายังต้องมี LIPO มาใส่ด้วย ถ้าไม่อยากเชยก็ควรเรียกว่า Regulator ก็จะถูกต้องที่สุด แต่ก็เรียกว่า BEC ต่อก็ได้ ไม่งั้นเพื่อนๆ ล้อแย่เลยนะครับ

มาทำความเข้าใจกันซักนิดนึงเกี่ยวกับวงวงจรที่ว่านี้ ซึ่งก็คือ วงจร Regulator นั่นเอง ชื่อจริงว่า Voltage Regulator วงจรที่ว่านี้ส่วนใหญ่มีสองแบบคือ แบบ Linear กับ Switching ซึ่งใช้ในการลดแรงดันและปรับแรงดันให้คงที่เหมือนกัน แต่ข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป

  • Linear Regulatorใช้วิธีการ Drop แรงดัน โดยสร้าง Load ภายใน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความร้อนสะสม ซึ่งส่วนใหญ่ใน chip จะมีวงจรป้องกันความร้อนเกินอยู่ และนี่ก็กลับกลายเป็นข้อเสียของ Linear regulator หากว่าแรงดันขาเข้า แตกต่างกับแรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจรมาก สามารถคำนวณกำลังงานที่ถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนได้จาก สมการกำลังงานทางไฟฟ้า (แรงดัน x กระแส = กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (W) ) ง่ายๆ โดยกระแสที่นำมาคำนวณเป็นกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยที่จ่ายออก จากแบตเตอรี่ จะได้ว่า กำลังงานขาเข้า - กำลังงานขาออก = กำลัีงงานที่สูญเสียตัวอย่างเช่น ใช้ LIPO 3S ได้แรงดัน 11.1V กระแสเฉลี่ย = 2A ได้กำลังขาเข้า 11.1V x 2A = 22.2Wกำลังขาออก 5V x 2A = 10Wจะพบว่าต้องสูญเสียกำลังงานไฟฟ้าไปถึง 12.2W เกือบเท่ากับหัวแร้งตัวเล็กๆ ตัวนึงเลยนะเนี่ย ประสิทธิภาพคิดเป็น 10W / 22.2W = 45% เท่านั้นเองซึ่งส่วนใหญ่หากจะใช้จริงๆ ก็สามารถทำได้เหมือนกัน โดยเลือกใช้แรงดันขาเข้า กับขาออกก็ไม่ควรแตกต่างกันมาก เช่น ใช้ LIPO แค่ 2S กำลังงานสูญเสียก็จะน้อยลงไปเยอะเหมือนกัน ประสิทธิภาพก็สูงขึ้นด้วยหรือถ้าต้องการกระแสให้มากขึ้นก็จะต้องมี Transistor มาต่อ by pass กระแสเพิ่มก็ได้ (แต่ใครจะทำมั่งล่ะเนี่ย)แต่ข้อดีมากๆ ก็คือไม่มีคลื่นแปลกปลอมหลุดรอดออกมาพร้อมกับไฟที่จ่ ายออกมา
  • Switching Regulatorใช้การปิด-เปิดจ่ายไฟด้วยความเร็วสูง เพื่อควบคุมปริมาณกระแสที่จ่ายออกมา ซึ่งมีผลต่อแรงดันไฟฟ้า ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ก้อลองนึกถึงตอนที่แบตใกล้จะหมด แล้วเราเร่งมอเตอร์ต่ออ่ะ มอเตอร์มันก็จะไม่ค่อยหมุน เนื่องจากกระแสไฟฟ้าในแบตเตอร์รี่เหลือน้อย และถ้าเราไปวัดแรงดันที่แบตเตอรีด้วยจะพบว่าแรงดันจะ ตกไปด้วยเหมือนกันซึ่งวงจรแบบ Switching ที่ดีี้เค้าก็จะจ่ายกระแสได้แบบแปรผันตามโหลดเลย กล่าวคือ ถ้าไม่มีโหลดต่ออยู่ ก็แทบจะไ่ม่มีกระแสจ่ายออกมาเหมือนกัน (มันไม่มีอยู่จริงๆ หรอกนะ เพราะต้นทุนการผลิตมันก็สูงขึ้นโดยไม่จำเป็น) ซึ่งเรามักจะพบว่าภาคจ่ายไฟฟ้าแบบนี้จะมีประสิทธิภาพ ที่สูงใกล้ 100% เพราะมันไม่ต้องจ่ายไฟออกมาโดยไม่จำเป็น ส่วนใหญ่จะทำได้ตั้งแต่ 80% ไปจนถึง 99% ขึ้นอยู่กับวงจรร่วมและอุปกรณ์ที่ประกอบกันวงจรแบบนี้สามารถใช้งานกับแบตเตอรี่ที่แรงดันสูงๆ ได้สบาย โดยแทบไม่มีความร้อนสะสมเลยอ่ะครับ และสามารถจ่ายกระแสได้สูงๆ ขึ้นอยู่กับ FET ที่ใช้งาน เหมือนกับใน Speed Control นั่นแหละครับส่วนข้อไม่ดีก็คือเรื่องของความถี่นี่แหละ ถ้าไม่ได้กรองให้ดีและมีหลุดรอดมาถึงอุปกรณ์ภาครับขอ งเราละก้อ ได้เฮกันละครับ
แบบผสมผสาน กล่าวคือ ใช้มันทั้งสองอย่างเลย ซึ่งก้อได้เอาข้อดี และลดข้อเสียของทั้งสองแบบมาปรับปรุงน่ะครับ

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เลือก สปีดคอนโทรลเลอร์ มาใช้งาน

การบินเครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า สะดวก(เล่น) สบาย(กระเป๋า) มากขึ้น เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนเข้ามาหลากหลายมาก บางทีเลือกไม่ถูก หรือไม่ก็สร้างความสับสนให้กับคนเล่นได้เหมือนกัน มีคำถามหลายคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ แต่มีองค์ประกอบที่ท่านก็ไปวิเคราะห์เลือกซื้อตามความเหมาะสมได้เอง เช่น
  1. จะใช้สปีดกี่แอมป์ถึงจะเหมาะสม
  2. จริงหรือ ที่ว่าสปีด(ทน)แอมป์สูง จะจ่ายกระแสดีกว่า
  3. เลือกสปีดที่ทนกระแสสูงๆ เผื่อไว้ดีไหม
ซึ่งมีข้อแรกข้อ 1 เท่านั้นเองที่เป็นคำถาม แต่ข้อที่ 2 กับ 3 นั้นเป็นเรื่องของความเชื่อและความสบายใจน่ะครับ

มาลองตอบคำถามที่ว่าจะใช้กี่แอมป์กันดีกว่า ซึ่งตอบได้ง่ายมาก ก็คือว่าเท่าที่มอเตอร์ต้องใช้นั่นแหละ แต่องค์ประกอบที่มีส่วนในการเลือกขึ้นอยู่กับว่านำไปใช้กับอะไร เครื่องบินหรือเฮลิคอปเตอร์หรือรถ ซึ่งสปีดส่วนใหญ่มักจะติดตั้งแผ่นระบายความร้อน จะช่วยให้ทนกระแสได้มากกว่าที่ระบุไว้อย่างน้อยก็ 5-10A หรือประมาณ 20-30% อยู่แล้ว
  • เครื่องบินส่วนใหญ่จะใช้แรงต้นเพื่อดึงให้เครื่องบินเกาะอากาศได้ และจะใช้กระแสช่วงแรกเยอะหน่อย เมื่อเกาะอากาศได้แล้ว ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการบินว่าเป็นอย่างไร ถ้าใช้ความเร็วสูงสุดตลอดเวลาก็ต้องเลือกสปีดให้ทนกับการกินกระแสสูงสุดของมอเตอร์ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็มักใช้ความเร็วกลางเท่านั้นครับ ดังนั้น การ peak ของกระแสสูงสุดมักจะอยู่ในช่วงต้นไม่กี่วินาที
  • ถ้าเป็นเฮลิคอปเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้รอบมอเตอร์ตั้งแต่ 80-100% ขึ้นไป เนื่องจากประสิทธิภาพของตัวมอเตอร์เอง ซึ่งหากว่าบินแบบ 3D ก็จะมีช่วง Peak แค่สั้นๆ เวลารับ-ส่งเท่านั้น ข้อนี้นักบิน 3D ที่ฝึกเรื่องการใช้พิทจะสามารถควบคุมการใช้รอบมอเตอร์ได้ดี

วิธีการวัดว่ามอเตอร์ กินกระแสเท่าไหร่ ส่วนมากที่พบในสื่ออินเตอร์เนตมักจะใส่ใบพัดเร่งเครื่องโดยจับเครื่องบินไว้ ซึ่งก็ตอบได้แต่ไม่ตรงคำตอบเท่าไหร่ เพราะเป็นการวัดแบบคงที่ไม่ใช่ วัดโดยเกิดจากภาระที่มอเตอร์ใช้กระแสจริงๆ แต่ถ้าจะใช้วิธีนี้จริงๆ ก็ต้องจำค่าคันเร่งที่ใช้สูงแค่ไหนที่ใช้ในการ take off ขึ้นไป ก็ต้องลองบินดู หรือจะให้ได้ผลดีก็ควรจะใช้อุปกรณ์ที่ใช้บันทึกการใช้กระแส

บางทีอาจจะมีคำถามตามมาอีกว่าใช้สปีดกระแสสูงแล้วนะ แล้วทำไมยังร้อนอยู่อีกล่ะ ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนสะสม ซึ่งหากว่ามีการระบายความร้อนที่ดีเพียงพอก็แก้ปัญหาได้ แต่หากว่าเป็นสปีดที่ประสิทธิภาพต่ำ เช่นซึ่งสปีดจากจีนมักใช้ FET ที่มีความต้านทานภายในที่มีค่าสูง ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสมจากตัว FET เอง ก็คงต้องหาซื้อใหม่จะเหมาะสมกว่า หากว่าต้องการประสิทธิภาพสูงจริงๆ เช่นในเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น

แต่ยังมีปัจจัยที่ควรจะนำมาวิเคราะห์ประกอบด้วย ก็คือ ประสิทธิภาพของตัวมอเตอร์ที่ใช้งาน กับความสามารถในการจ่ายกระแสสูงสุดของแบตเตอร์รีที่ใช้ด้วย ไว้ว่ากันต่อครับ

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

หัวข้อที่จะรวบรวมใน blog นี้ครับ

หัวข้อสำหรับมือใหม่ซิงๆ
  • จะเลือกเล่นอะไรดี
  • การเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
เรื่องของเครื่องบิน
  • เครื่องบินบินได้อย่างไร (ไม่แน่ใจว่ายังมีคนอยากรู้เรื่อง อีกหรือเปล่า)
  • การเซตเครื่องบิน (หัวข้อนี้ น่าจะช่วยในการวิเคราะห์หาอาการบินได้)
  • แนวทางการฝึกบิน
  • ทำเครื่องบินเล่นเอง (ข้อนี้น่าสนุกดี เพราะจาว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก)
เรื่องของเฮลิคอปเตอร์
  • เฮลิคอปเตอร์บินได้อย่างไร
  • แนวทางการฝึกบิน
  • บิน 3D (เอางัยดี ตังทั้งนั้น อยากจะทำก่อนเลย ก่อนที่จะเสียเงินกันเยอะ)
การเซตค่าวิทยุ อุปกรณ์ต่างๆ

การทดสอบต่างๆ